โดย : มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
เมื่อ : 04-Aug-2020
ชื่นชอบ 0 ครั้ง

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัตดิการกว่า 200 คนจัดกิจกรรมปาร์ตีี้ปิ่นโตนัดกินข้าวหน้าทำเนียบรัฐบาล ทวงลายเซ็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้รับรองร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)บำนาญแห่งชาติ
นายนิมิตร์ เทียนอุดม ตัวแทนเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ กล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้เป็นการมาทวงถามนายกรัฐมนตรีให้เซ็นรับรองร่าง พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ ที่ประชาชนกว่า 13,000 คน เข้าชื่อเสนอกฎหมาย หลังจากอยู่ในระหว่างการพิจารณาของนายก นานกว่า 5 เดือน
"หากเรามีบำนาญพื้นฐาน จะเป็นหลักประกันที่ไม่ทำให้ใครต้องล้มละลายจากการไม่มีกิน เมื่ออายุ 60 ปี เป็นเหมือนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในชีวิต เหมือนระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นหลักค้ำทางสังคมอีกเสาหนึ่ง และหากเรามีรัฐบาลที่ฟังเสียงประชาชน ก็หวังว่านายกฯจะเซ็นรับรองกฎหมายนี้ เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ส่วนพรรคการเมืองทีหาเสียงไว้ว่าจะทำบำนาญถ้วนหน้าก็อยากให้เร่งทำร่างกฎหมายประกบคู่ไปกับร่างของประชาชน " นายนิมิตรกล่าว
ตัวแทนเครือข่ายประชาชนฯ ให้ความเห็นว่า การเปลี่ยนเบี้ยยังชีพเ็นบำนาญถ้วนหน้าเป็นกลไกที่รัฐสามารถใช้แก้ปัญหาความยากจนในระยาวได้ ซึ่งหากถามว่าเงินที่จะนำมาจัดสรรอยู่ที่ไหน คำตอบคือความพร้าของประเทศอยู่ที่เจตจำนงของรัฐ ซึ่งประชาชนต้องไม่นึ่งเฉย ต้องส่งเสียง ทวงถาม ทำให้เสียงดังอย่างต่อเนื่อง ว่าประชาชนต้องการหลักประกันด้านรายได้ที่มั่นคงเมื่อสูงวัย
ด้านนางสาวเนืองนิช ชิดนอก ประธานเครือข่ายสลัมสี่ภาค อ่านแถลงการว่า การมีเงินบำนาญรายเดือน 3,000 บาท ที่อ้างอิงจากเส้นความยากจนในปัจจุบัน เป็นจุดเริ่มต้นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้ผู้สูงอายุทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ใช้ชีวิตวัยกเษียณอย่างมีคุณค่า ในขณะที่ลูกหลานซึ่งอยู่ในวัยทำงานไม่ต้องกังวลว่าจะหาเงินเพื่อส่งเสียพ่อแม่ แต่จะมีโอกาศสร้างอนาคตของตัวเองได้มากขึ้น
"หากเงินบำนญถ้วนหน้าเปรียบดั่วข้าว ขอให้ข้าวมื้อนั้นเพียงพอแก่การกิน แก่การยังชีพ ไม่ต้องอดมื้อกินมื้อ เพื่อให้เรามีชีวิตขับเคลื่อนประเทศต่อไป เราขอยืนยันว่า การจัดสวัสดิการเพื่อหลักประกันในการดำรงชีวิต เป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนควรได้รับเสมอหน้ากัน และรัฐต้องหยุดมองประชาชนเป็นภาระของประเทศ ที่แค่ให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือชั่วคราว ต้องหยุดส่งต่อความจนเรื้อรัง ที่ผูกโซ่ตรวนจากรุ่นสู่รุ่น ด้วยการมีบำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า" นางสาวเนืองนิช กล่าว
ทั้งนี้เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ มีข้อเรียกร้อง จำนวน 2 ข้อ คือ 1. ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หยุดถ่วงเวลาพิจารณากฎหมายด้วยการเร่งให้คำรับรองร้าง พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติฯ ฉบับที่ประชาชนร่วมกันเข้าชื่อเสนอ เพื่อให้กระบวนการพิจารณากฎหมายได้ดำเนินการตามกลไกของรัฐสภาทันที และ 2.ให้ทุกพรรคการเมืองที่หาเสียงว่าจะบำนาญประชาชน ออกมาร่วมกับเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการเสนอร่างกฎหมายประกบคู่กับร่างกฎหมายประกบคู่กับร่างกฎหมายของภาคประชาชน เพื่อให้เห็นการร่วมมือการสร้างบำนาญถ้วนหน้าให้กับคนไทยทั้งประเทศ